บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบต่อสังคม หมายถึง การที่บุคคลมีบทบาทหน้าที่ และความรับผิดชอบต่อบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง และอยู่รอบตัวในชีวิตของตน อันได้แก่ ครอบครัว เพื่อน ครูอาจารย์ เป็นต้น ทั้งนี้เพราะมนุษย์อยู่คนเดียวไม่ได้จำเป็นต้องอยู่ร่วมกับผู้อื่น มีการพึ่งพาอาศัยกันมีการช่วยเหลือกัน ดังนั้นแต่ละบุคคลจึงจำเป็นต้องมีบทบาทหน้าที่ และความรับผิดชอบต่อกันอย่างเหมาะสม จึงจะทำให้การอยู่ร่วมกันนั้นเป็นไปได้ด้วยดีและเกิดสุขในการอยู่ร่วมกัน ซึ่งหลักที่ช่วยส่งเสริมการอยู่ร่วมกันด้วยดีนั้นได้แก่ ทิศ 6
- ปุรัตถิมทิส ทิศเบื้องหน้า ได้แก่ บิดา มารดา :
มารดาบิดาอนุเคราะห์บุตรธิดา ดังนี้ บุตรธิดาพึงบำรุงมารดาบิดา ดังนี้
- ห้ามปรามจากความชั่ว
- ให้ตั้งอยู่ในความดี
- ให้ศึกษาศิลปวิทยา
- หาคู่ครองที่สมควรให้
- มอบทรัพย์สมบัติให้ในโอกาสอันสมควร
- ทักขิณทิสทิศเบื้องขวา ได้แก่ ครูอาจารย์ :
ครูอาจารย์อนุเคราะห์ศิษย์ ดังนี้ ศิษย์พึงบำรุงครูอาจารย์ ดังนี้
- ฝึกฝนแนะนำให้เป็นคนดี
- สอนให้เข้าใจแจ่มแจ้ง
- สอนศิลปวิทยาให้สิ้นเชิง
- ยกย่องให้ปรากฏในหมู่เพื่อน
- สร้างเครื่องคุ้มกันภัยในสารทิศคือ สอนให้ศิษย์ปฏิบัติได้จริง นำวิชาไปเลี้ยงชีพทำการงานได้
- ปัจฉิมทิส ทิศเบื้องหลัง ได้แก่ สามีภรรยา :
สามีพึงบำรุงภรรยา ดังนี้ ภรรยาอนุเคราะห์สามี ดังนี้
- ยกย่องสมฐานะภรรยา
- ไม่ดูหมิ่น
- ไม่นอกใจ
- มอบความเป็นใหญ่ในงานบ้านให้
- หาเครื่องประดับมาให้เป็นของขวัญตามโอกาส
- อุตตรทิส ทิศเบื้องซ้าย ได้แก่ มิตรสหาย :
พึงบำรุงมิตรสหาย ดังนี้ มิตรสหายอนุเคราะห์ตอบ ดังนี้
- เผื่อแผ่แบ่งปัน
- พูดจามีน้ำใจ
- ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
- มีตนเสมอร่วมสุขร่วมทุกข์ด้วย
- ซื่อสัตย์จริงใจต่อกัน
- อุปริมทิส ทิศเบื้องบน ได้แก่ พระสงฆ์ สมณพราหมณ์ :
คฤหัสถ์พึงบำรุงพระสงฆ์ ดังนี้ พระสงฆ์อนุเคราะห์คฤหัสถ์ ดังนี้
- จะทำสิ่งใดก็ทำด้วยเมตตา
- จะพูดสิ่งใดก็พูดด้วยเมตตา
- จะคิดสิ่งใด ก็คิดด้วยเมตตา
- ต้อนรับด้วยความเต็มใจ
- อุปถัมภ์ด้วยปัจจัย ๔
- เหฏฐิมทิส ทิศเบื้องล่าง ได้แก่ ลูกจ้างกับนายจ้าง :
นายจ้างพึงบำรุงลูกจ้างดังนี้ลูกจ้างอนุเคราะห์นายจ้างดังนี้
- จัดการงานให้ทำตามกำลังความสามารถ
- ให้ค่าจ้างรางวัลสมควรแก่งานและ ความเป็นอยู่
- จัดสวัสดิการดีมีช่วยรักษาพยาบาลในยามเจ็บไข้ เป็นต้น
- ได้ของแปลกๆ พิเศษมา ก็แบ่งปันให้
- ให้มีวันหยุดและพักผ่อนหย่อนใจตามโอกาส อันควร
คนดี ย่อมเป็นที่ยกย่องนับถือของคนทั่วไป เพราะอำนาจของความกตัญญูกตเวที ดังพระบาลีที่ว่า ความกตัญญูกตเวที เป็นเครื่องหมายของคนดี
|